title

อุบัติเหตุบนท้องถนน
ไม่ใช่แค่เรื่องส่วนบุคคลอย่างที่คิด

NO DEATH OR SERIOUS INJURY IS ACCEPTABLE

ไม่ควรมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรง จากอุบัติเหตุบนท้องถนนแม้แต่คนเดียว

หนึ่งในหลักการของ Vision Zero แนวทางการออกแบบ ระบบความปลอดภัยทางถนน ที่หลายเมืองทั่วโลกกำลังพยายามปรับใช้ ตั้งแต่ปี 1997 เพื่อไม่ให้มีใครสักคนต้องสูญเสีย ลดโอกาสบาดเจ็บหรือพิการ และรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ

แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยังมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมสองแสนกว่าชีวิต คิดเป็น 20,000 คน / ปี หรือ 3 คนในทุก ๆ ชั่วโมง

ขโมยเวลาในชีวิตตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ที่พวกเขาจะได้ใช้อย่างมีความหมายไปแล้ว

0

ปี

0 ปี

อายุ

อายุขัยเฉลี่ย 76 ปี

25%

ของผู้เสียชีวิต
อายุต่ำกว่า 25 ปี

นั่นแปลว่า.. พวกเรากำลังสูญเสียกลุ่มคนที่กำลังเติบโต และเป็นกำลังสำคัญสำหรับ อนาคตของประเทศ

75%

ของผู้เสียชีวิต
เป็นผู้ใช้จักรยานยนต์

(จากเฉพาะที่ทราบประเภทการใช้ยานพาหนะ)

โดยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์สาเหตุหลักว่าเกิดจากผู้ขับขี่ขาดทักษะด้านการคาดการณ์อุบัติเหตุ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอในการทบทวนขั้นตอนในการออกใบอนุญาตขับขี่ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย

6,739

ชีวิตที่สูญเสีย
เป็นคนเดินเท้า

แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร แต่เพียงแค่เป็นผู้ใช้ถนนคนเดินเท้าในประเทศนี้ ก็พบว่ามีโอกาสเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่น้อยเช่นกัน

อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของสังคมไทย และทำให้เราสูญเสียอนาคตของประเทศไปมากมาย

แต่การแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ ก็ยังคงเป็นการรณรงค์ไม่ให้ ขับรถโดยประมาท ทั้งที่จริง ๆ แล้วอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ใช่เพียงเรื่องพฤติกรรมส่วนบุคคล แต่ยังมีช่องว่างให้พัฒนาและ แก้ไขปัญหาเชิงระบบ เพื่อออกแบบแนวทางป้องกันได้เช่นเดียวกันกับสาเหตุการตายอื่น

สาเหตุการตาย 10 อันดับแรกของประชากรไทย ปี 2019

สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข

เพราะขีดจำกัดของมนุษย์เปราะบางต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน การสร้างระบบความปลอดภัยที่ตระหนักถึงข้อจำกัด ความทนทานต่อการบาดเจ็บของร่างกายมนุษย์ และลดโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรณรงค์ให้คนปรับพฤติกรรมหรือสร้างสำนึก

รายงาน Big Data & AI for Safer Roads ของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะ ไทย (iTIC) ร่วมกับ Siametrics ได้เคยทำการวิเคราะห์ปัจจัยนอกเหนือไปจาก พฤติกรรมมนุษย์ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเราสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น

จุดเสี่ยงบริเวณ
อุโมงค์ทางลอด

ป้ายหรือสัญญาณ
จราจรที่ไม่ชัดเจน

ห้ามล้อ (เบรค)
ขัดข้อง

การเปลี่ยนช่องทาง
บริเวณป้ายรถประจำทาง

ThailandFuture จึงอยากชวนทุกคนมองปัญหาอุบัติเหตุ
บนท้องถนน ในมุมของ ระบบความปลอดภัยทางถนน
พร้อมส่งต่อแนวทางการแก้ไขไปยังผู้เกี่ยวข้อง

เพื่อให้คนไทยมีถนนที่ปลอดภัยกว่าทุกวันนี้
#BetterRoadBetterLife

เกิดอะไรขึ้นบนท้องถนนเมืองไทย?

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีผู้สูญเสีย ชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย

ข้อมูลจากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน)

ซ้ำร้าย.. อุบัติเหตุบนท้องถนนยังเกิดขึ้น รายวัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่แบบที่รณรงค์กันเท่านั้น

ข้อมูลจากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน)

ที่น่าสังเกตคือมีจุดที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นซ้ำ ๆ จนเกิดคำถามว่า “นั่นเป็นเพียงความผิดพลาดของคนเพียงอย่างเดียวจริงหรือ?”

ข้อมูลจากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน)

แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีฐานข้อมูลแบบละเอียดที่วิเคราะห์ถึง สาเหตุของทุกอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน

แต่จากข้อมูลรายงานคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกเมื่อปี 2019 ในระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (CRIMES) ก็พอจะทำให้เราเห็นได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งจาก บุคคล สภาพแวดล้อม และ ยานพาหนะ

บุคคล

87.28%

ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด 49%

ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด 43%

ขับรถหลับใน 4%

เมาสุรา 4%

สภาพแวดล้อม

38.97%

สัญญาณไฟจราจร/ป้ายบอกทางไม่ชัดเจน 59.83%

สาเหตุอื่นจากสัญญาณไฟจราจร/ป้ายบอกทาง 30.85%

ถนนลื่น 1.76%

มีฝนตก 1.17%

คนตัดหน้ารถ 1.04%

สาเหตุอื่น 2.54%

ยานพาหนะ

6.8%

ห้ามล้อขัดข้อง 47%

ระบบไฟขัดข้อง 47%

สาเหตุอื่น 6%

หมายเหตุ : ในฐานข้อมูลปี 2019 มีการบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 74,958 ครั้ง (รวมทั้งกรณีมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ) โดยการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง นอกจากนี้การบันทึกสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมของคน เพราะเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ ในขณะเดียวกันปัจจัยอื่นอาจเป็นสาเหตุให้คนเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้เช่นกัน แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ลึกลงไป

ขณะที่รายงาน Big Data & AI for Safer Roads ของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) ก็มีการวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

ทั้งหมดนี้รวมกันเป็น ระบบความปลอดภัยทางถนน ที่เราสามารถออกแบบและพัฒนา ควบคู่ไปกับการรณรงค์ ให้คนขับรถโดยไม่ประมาท เพื่อลดความผิดพลาดในการขับขี่ และลดความสูญเสียให้น้อยลงได้

แล้วเราทำอะไรกันได้บ้างเพื่อให้มี ระบบความปลอดภัยทางถนน ที่ดีขึ้น

ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้มีการกำหนด 5 เสาหลัก
เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละประเทศเอาไปพัฒนา ระบบความปลอดภัยทางถนน

1. การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน

Road Safety Management

  • มีนโยบายและกลไกการกำกับดูแลที่ครอบคลุม ทุกเสาหลัก
  • พัฒนาระบบข้อมูล เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผล
  • ทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน

2. ถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย

Safe Driving Environment

  • สนับสนุนให้มีการสร้าง และปรับปรุง ถนนที่ ปลอดภัยในทุกท้องที่
  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในการขับขี่ให้ได้มาตร ฐานความปลอดภัย

3. ยานพาหนะที่ปลอดภัย

Safe Vehicles

  • สนับสนุนการครอบครองและใช้งานยานพาหนะที่ปลอดภัย
  • ส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีที่เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
  • ออกแบบกลไกการกำกับดูแลให้มีการใช้งานยานพาหนะที่ปลอดภัย

4. ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

Safe Road Users

  • พัฒนารูปแบบและเนื้อ หาการสร้างความเข้าใจและการฝึกฝนการขับขี่ ปลอดภัย
  • พัฒนามาตรฐานผู้ได้รับอนุญาตให้ขับขี่
  • พัฒนากฎหมายและการบังคับใช้

5. การตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ

Post-Cash Response

  • พัฒนาความสามารถในการตอบสนองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และความสามารถของระบบที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศได้มีการนำ 5 เสาหลักนี้ไปใช้
ลองมาดูตัวอย่างมาตรการและนวัตกรรมจากหลาย ๆ ประเทศที่น่าสนใจ

การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน

Road Safety Management

Road Control Center
ศูนย์ควบคุมการจราจรที่ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีตัดสินใจสิ่งต่างๆ

ญี่ปุ่น

องค์กรที่รับผิดชอบดูแลทางหลวงและทางด่วนระดับประเทศของญี่ปุ่น จะทำงานร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ต่าง ๆ โดยแต่ละพื้นที่ จะมีการตั้ง Road Control Center ที่ประกอบไปด้วย Traffic Control Room ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ ผิดปกติ จะมีการส่งทีมควบคุมการจราจรไปยังพื้นที่และเลือก ใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกับสถานการณ์นั้น ๆ

อีกส่วนคือ Facility Control Room ที่คอยตรวจสอบสภาพการ ทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนท้องถนน ตั้งแต่สัญญาณไฟ ป้ายอัจฉริยะ ไปจนถึงคุณภาพถนน สะพาน และอุโมงค์ เพื่อให้มีการปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม พร้อมกันนั้น ยังมีทีมปฏิบัติการ ที่คอยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Road Control Center ในการ ไปดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุม ความเร็ว หรือแก้ปัญหาการจราจร

Measuring the Street
โครงการรัฐเพื่อออกแบบถนนแห่งอนาคตของทุกคน

สหรัฐอเมริกา

มีการเรียกร้องให้ออกแบบถนนในนิวยอร์กซิตี้ใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของเมืองใน ศตวรรษที่ 21 และความปลอดภัยก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้น โปรเจกต์นี้จึงเป็นการรวบรวมเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ใช้ถนนหลาย ๆ ฐาน บวกกับความรู้ความคิดเห็นของประชาชน และผู้บริหารเมือง แล้วสรุปออกมาเป็นแนวทางในการพัฒนาถนนของเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัย เหมาะกับผู้ใช้งานทุกคน รวมถึงสร้างพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงรักษาการไหลของการจราจร

Smart Highway
ถนนเรืองแสง

เนเธอร์แลนด์

โครงการทางหลวงอัจฉริยะ เปลี่ยนเส้นขอบริมถนนให้เรืองแสง ในที่มืด โดยสีที่ใช้ทาเส้นขอบริมถนนนั้นก็เป็นสีแบบพิเศษที่ สามารถเก็บพลังงานจากรถที่วิ่งผ่านในตอนกลางวัน และเปลี่ยนเป็นแสงสว่างในตอนกลางคืน หลังจากการทดลองใช้เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า สามารถใช้ได้ต่อเนื่องยาวนาน 8 ชั่วโมง ช่วยให้ถนนช่วงกลางคืนสว่างและปลอดภัยมากขึ้น

3D Pedestrian Crossing
ทางม้าลายสามมิติ

ทั่วโลก

3D Pedestrian Crossing ทางม้าลายสามมิติทั่วโลก มีการใช้เทคนิคภาพลวงตา (Optical Illusion) ในการสร้างทางม้าลาย เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุรถชนคนข้ามถนน เมื่อผู้ขับขี่มา ถึงจุดที่เหมาะสม จะมองเห็นทางม้าลายกลายเป็นภาพบล็อคกั้น ถนนพุ่งขึ้นจากพื้นแบบ 3 มิติ โดยจุดที่ผู้ขับขี่รถจะเห็นภาพ 3 มิติ มีระยะห่างพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการตกใจเหยียบ เบรคกะทันหัน ปัจจุบันมีการทดลองใช้เทคนิคนี้ในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย ไอซ์แลนด์ หรือแม้แต่ประเทศไทย

NALTEC
ตรวจสภาพรถยนต์ทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนอย่างสม่ำเสมอ

ญี่ปุ่น

สถาบันยานยนต์ (NALTEC) มีการตรวจสภาพรถยนต์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถและรักษาสิ่งแวดล้อม รถที่จะต้องผ่านการตรวจสภาพ คือ

1. รถยนต์ส่วนบุคคล จะมีการตรวจสภาพครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ครั้งที่ 2 เมื่อครบ 3 ปี ภายหลังการจดทะเบียน และ ตรวจสภาพทุก ๆ 2 ปี

2. รถขนส่ง จะมีการตรวจสภาพครั้งแรกก่อนการจดทะเบียน ครั้งที่ 2 ตรวจเมื่อครบ 2 ปี ครั้งต่อไปตรวจทุก ๆ 1 ปี

3. รถบัสโดยสารขนาดใหญ่ จะมีการตรวจสภาพทุก ๆ ปี โดย การตรวจจะใช้เวลาเพียง 5 - 10 นาทีต่อคันเท่านั้น และหลังการตรวจระบบจะประมวลผลส่งข้อมูลเพื่อออกใบรับรองให้ โดยอัตโนมัติ

Nauto AI-Powered Dash Cam
กล้องติดหน้ารถที่ทำให้การขับขี่ปลอดภัยขึ้น

สหรัฐอเมริกา

กล้องติดรถที่สามารถบันทึกภาพ เสียงและข้อมูลแบบละเอียด และเรียลไทม์ ทั้งภายในและภายนอกรถ ทำให้ระบบสามารถตรวจสอบและคำนวณความพร้อม ของคนขับประกอบกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่อาจเป็นอันตรายแล้วแจ้งเตือนคนขับผ่าน เสียงได้ทันเวลา

ข้อมูลที่รวบรวมโดย Nauto ยังเผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกและ แนวโน้มพฤติกรรมการขับขี่ ตั้งแต่สาเหตุของการชนไปจนถึง รูปแบบที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยได้ดีขึ้น แถมยังมีการประเมินคะแนน การขับขี่ปลอดภัย (VERA Score) ให้ผู้ขับขี่แต่ละคน เพื่อให้รู้ว่า ตัวเองขับรถได้ปลอดภัยแค่ไหนอีกด้วย

Go Safe with Ziggy
เพื่อนที่ชวนคุยเรื่องถนนปลอดภัยตั้งแต่วัยจิ๋ว

สวีเดน

โครงการของรัฐบาลสก็อตแลนด์ ที่ใช้ Ziggy เพื่อนวัยเด็ก มุ่งสอนทักษะ ความรู้ และทัศนคติเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนให้เด็ก ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ผ่านประสบการณ์ด้านมัลติมีเดีย และการลงมือปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ แล้วยังได้ผลไปถึงผู้ใหญ่ ที่อยู่รอบตัวพวกเขาในเรื่องการเดินทางอย่างปลอดภัยบนท้องถนนผ่านประสบการณ์จริง

SHARP
โครงการประเมินและให้คะแนนหมวกนิรภัย

สหราชอาณาจักร

ในเว็บไซต์จะมีการจัดอันดับคะแนน พร้อมให้คำแนะนำในการเลือก หมวกนิรภัยให้พอดีและสวมใส่สบาย รวมถึงให้ข้อมูล เกี่ยวกับความปลอดภัยของหมวกนิรภัย เพื่อช่วยให้นักขี่ มอเตอร์ไซค์ตัดสินใจเลือกอย่างชาญฉลาด

SIX Network x Claim Di
ลดเวลา ต้นทุนและกลโกงให้การเคลมประกัน

ไทย

อัพเกรดวงการประกันภัยให้สมาร์ทไปอีกขึ้น เมื่อมีการนำ Capture-locked Image ที่มี Blockchain อยู่เบื้องหลัง มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแอพฯ ประกันภัยของบริษัทเอกชน เพื่อให้สามารถถ่ายภาพหลักฐานในที่เกิดเหตุ แล้ววิเคราะห์ รายละเอียดเพื่อจัดเก็บลงใน Blockchain เพื่อให้การเคลม ประกันถูกต้องและรวดเร็วขึ้น แถมยังสามารถสร้างเป็นฐาน ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของผู้ขับขี่เฉพาะบุคคล ในกรณีที่ เปลี่ยนบริษัทประกันในอนาคตได้ด้วย

เทคโนโลยีนี้ยังมีประโยชน์ในการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง แล้วนำไปวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับปรุงพื้นที่หรือป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตได้

STOP Accidentes
คู่มือดูแลผู้เสียหายจากความรุนแรงทางถนน

สเปน

องค์กรเอกชนแห่งนี้ได้สร้างคู่มือ (Intervention Package) ที่เรียกว่า การดูแลผู้เสียหายจากความรุนแรงทางถนน (Road Violence Victim Care) เพื่อให้การสนับสนุนทางจิตใจ แก่ผู้รอดชีวิต โดยมีการสร้างเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุนประกอบ ด้วยนักสังคมสงเคราะห์และจิตแพทย์ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเข้ารับการอบรมเฉพาะทางเกี่ยวกับการสนับสนุนทางจิตใจ กำหนดแนวปฏิบัติ เช่น การกำหนดพื้นที่เงียบสงบในโรงพยาบาลเพื่อ รองรับครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บ และการให้คำแนะนำเป็น ลายลักษณ์อักษรในประเด็นทางจิตใจ สังคม และกฎหมาย แก่ผู้รอดชีวิต

นอกจากนี้ 5 เสาหลักที่ตั้งไว้ ยังได้พัฒนามาเป็น
12 เป้าหมายโลกด้านความปลอดภัยทางถนน
เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานและตัวชี้วัดควบคู่ไปด้วย

จากการประเมินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา เพื่อดูว่าแต่ละประเทศมีโอกาสแค่ไหนในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลองมาดูกันว่า ประเทศไทยทำได้ดีแค่ไหนในเรื่องความปลอดภัยทางถนน

1

โอกาสในการ
บรรลุเป้าหมาย

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

แม้ประเทศไทยจะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาแต่ยังมีอีกหลายอย่าง ที่หลายคนและหลายหน่วยงานร่วมกันทำได้เพื่อถนนประเทศไทยที่ปลอดภัยสำหรับคนไทยมากกว่านี้

ข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศ ASEAN จาก WHO

แนวทางพัฒนาความปลอดภัยทางถนนไทย
หัวใจสำคัญคือท้องถิ่น

กรอบแนวคิดในระดับนานาชาติชวนให้มองสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ โดยตระหนักถึงข้อจำกัดของมนุษย์ และเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายทุกปัจจัยของระบบในการช่วยกันลดการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สอดคล้องกับข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกรณีศึกษาในประเทศไทยที่ส่งเสริมให้ มุ่งเน้นการจัดการเชิงระบบ ควบคู่กับการเสริมพลังท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญที่สามารถประสานความร่วมมือจากทั้งส่วนกลาง ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ สู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

ThailandFuture จึงเสนอแนะ หลักคิดและกระบวนการในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางความคิดให้หน่วยงานท้องถิ่น รวมถึงประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความปลอดภัยทางถนน

คิด

ด้วย 3 หลักการ

1. ส่วนร่วม

(Be Radical Collaborative)

การแก้ปัญหาที่ท้าทายอย่างอุบัติเหตุทางถนน อาศัยสมาชิกทีมหลักที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญแตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์มุมมองและไอเดียการแก้ไขปัญหาจากความหลากหลายของทีม

  • เสริมพลังหน่วยงานระดับท้องถิ่น ให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการแก้ไขปัญหา เพราะเข้าใจบริบทพื้นที่ บริบทของผู้คนในพื้นที่เป็นอย่างดี
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อออกแบบแนวทางแก้ไขปัญหาตอบโจทย์การใช้งานจริงสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ประสานพลังความร่วมมือจากทีมงานสหสาขา เพื่อเอื้อให้เกิดไอเดียการแก้ไขปัญหาจากหลากหลายมุมมอง

2. สารสนเทศ

(Be Data-driven)

ข้อมูลหรือสารสนเทศ เปรียบเสมือนเข็มทิศที่ช่วยสนับสนุนและชี้แนะการตัดสินใจได้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การมองภาพรวมของปัญหา ระบุความเสี่ยง ไปจนถึงการวัดประสิทธิภาพของมาตรการ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มี อาทิ ข้อมูล 3 ฐาน (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ตำรวจ และบริษัทกลางฯ) หรือเริ่มเก็บข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม

3. รอบด้าน

(Be User-Vehicle-Road Centric)

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็นไปได้ทั้งปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านพาหนะ ปัจจัยด้านถนนและสภาพแวดล้อม หรือทุกปัจจัยรวมกัน การคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านช่วยให้เกิดการมองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม และการค้นหาแนวทางแก้ไขที่เกิดแรงกระเพื่อมต่อการพัฒนาได้ดีที่สุด

  • ด้านคน เช่น ลักษณะ (persona) และพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย
  • ด้านรถ เช่น มาตรฐานความปลอดภัยของพาหนะและอุปกรณ์
  • ด้านถนนและสภาพแวดล้อมในการสัญจร เช่น แสงสว่าง ลักษณะทางภายภาพของสะพานและถนน ป้ายจราจรต่าง ๆ

ทำ

ผ่าน 4 กระบวนการ

1. ทำความเข้าใจปัญหา

(Understand)

ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและบริบทของปัญหา (คน-รถ-ถนน) ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเกตพื้นที่จริง การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย หรือการมีประสบการณ์ตรง

2. ระบุโจทย์ที่ต้องแก้ไข

(Define)

วิเคราะห์ปัจจัยด้านคน รถ ถนนและสภาพแวดล้อมในการสัญจร ที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และระบุโจทย์ที่ต้องการแก้ไข

3. ระดมสมองค้นหาวิธีแก้ไข

(Brainstorm)

ศึกษาแนวคิด งานวิจัยหรือกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวคิดด้านวิศวกรรมจราจร แนวคิดการกําจัดความเสี่ยงเชิงบวกเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (Behavior Based Safety for Safety Culture) และทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม (Nudge Theory) เป็นต้น ประกอบกับข้อมูลเชิงลึก (insight) ที่ได้จากการทำความเข้าใจปัญหาในขั้นที่ 1 เพื่อค้นหาไอเดียสำหรับปรับเปลี่ยนปัจจัยด้านคน รถ หรือถนนได้อย่างตอบโจทย์

4. แก้ไข วัดผลและพัฒนา

(Do-Check-Act)

ระบุตัวชี้วัดที่สามารถวัดประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหา อาจจัดทำตัวต้นแบบ (prototype) หรือโมเดลจำลองเพื่อสอบทานไอเดียเบื้องต้น จากนั้นลงมือแก้ไขในพื้นที่เป้าหมาย ประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เราทุกคนที่อยากเห็นถนนเมืองไทยที่ปลอดภัยกว่านี้
และไม่อยากเห็นเลขผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียวบนท้องถนน